สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง (แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอ)
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง ตั้งอยู่เลขที่ 286 หมู่ที่ 3 ตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อยู่ทิศเหนือ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม ประมาณ 4 กิโลเมตร ตำบลเกิ้งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองมหาสารคาม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม ประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,983 ไร่ หรือ 19.17 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ติดกับแม่น้ำชีตลอดแนว อำเภอกันทรวิชัย
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลตลาด (เทศบาลเมืองมหาสารคาม) อำเภอเมือง
มหาสารคาม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมืองมหาสารคาม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลตลาด (เทศบาลเมืองมหาสาคาม) และตำบลท่าสองคอน
อำเภอเมืองมหาสารคาม
ทิศเหนือ ติดต่อตำบลท่าขอนยาง และตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีแนว
เขตเริ่มต้นจากลำน้ำชี บริเวณพิกัด U C 150950 ไปทางทิศตะวันออกโค้งไปตามร่องน้ำลึก ประมาณ 21 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยมีแนวเขต
เริ่มต้นจากกึ่งกลางลำน้ำชี บริเวณพิกัด U C 253933 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามทุ่งนา ถึงกุดบ้านลาด ด้านทิศใต้ บริเวณพิกัด U C 251924 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามลำห้วย ถึง กุดขี้เป็ด ด้านทิศเหนือ บริเวณพิกัด U C 240916 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามลำห้วย สิ้นสุดที่ ห้วยคะคาง บริเวณพิกัด U C 213904 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออก ประมาณ 6.5 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อตำบลตลาด และตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
โดยมีแนวเขตเริ่มต้นที่ห้วยคะคาง บริเวณพิกัด U C 213904 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามห้วยคะคาง ถึงแนวคันดิน บริเวณพิกัด U C 207902 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามแนวคันดิน บริเวณพิกัด U C 192913 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามกึ่งกลางห้วยคะคาง ถึงทางหลวงหมายเลข 213 ที่กึ่งกลางสะพาน บริเวณพิกัด U C 173921 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามกึ่งกลางทางหลวงแผ่นดิน ถึงบริเวณพิกัด U C 166929 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามทุ่งนา ถึงทางแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 208 ไปทางบ้านชัน บริเวณพิกัด U C 145917 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามทุ่งนา สิ้นสุดที่ทางหลวงหมายเลข 208 บริเวณพิกัด U C 128909 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลท่าสองคอน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม และตำบลขามเรียง
อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางทางหลวง
หมายเลข 208 บริเวณพิกัด U C 128909 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามลำห้วย ถึงลำ
น้ำชี บริเวณพิกัด U C 121913 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโค้งไปตามร่องน้ำลึกของ
ลำน้ำชี สิ้นสุดที่ลำน้ำชี บริเวณพิกัด U C 150950 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตก
ประมาณ 8 กิโลเมตร
เนื้อที่ (แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่)
จำนวนพื้นที่ในตำบล และพื้นที่การเกษตรในตำบลเกิ้ง มีพื้นที่ทั้งหมดและพื้นที่ทำการเกษตร โดยจำแนกตามหมู่บ้าน ดังตาราง
ตารางที่ 1-1 แสดงจำนวนพื้นที่ตำบล และพื้นที่การเกษตร จำแนกตามหมู่บ้านตำบลเกิ้ง
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
พื้นที่ทั้งหมด(ไร่) |
พื้นที่การเกษตร(ไร่) |
1 |
บ้านดินดำ |
1,347 |
917 |
2 |
บ้านโนนตูม |
890 |
642 |
3 |
บ้านท่าปะทาย |
1,156 |
544 |
4 |
บ้านวังยาว |
842 |
707 |
5 |
บ้านเกิ้งใต้ |
1,103 |
996 |
6 |
บ้านเกิ้งเหนือ |
878 |
1,508 |
7 |
บ้านโขงกุดหวาย |
552 |
362 |
8 |
บ้านทุ่งนาเรา |
632 |
358.25 |
9 |
บ้านโนนสมบูรณ์ |
677 |
382 |
10 |
บ้านโนนสวรรค์ |
788 |
552 |
11 |
บ้านดินดำพัฒนา |
753 |
610 |
12 |
บ้านเจริญสุข |
595 |
316 |
13 |
บ้านเกิ้งพัฒนา |
1,004 |
668 |
14 |
บ้านวังน้ำเย็น |
766 |
471 |
รวม |
11.983 |
9,033.25 |
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลเกิ้ง ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำชีไหลผ่านทำให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำการเกษตรทั้งในและนอกฤดูกาล
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37 องศาเซลเซียส
ช่วงเดือนเมษายน และฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 16.8 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนธันวาคม และอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 27 องศาเซลเซียส
การคมนาคม
ตำบลเกิ้ง ประกอบด้วยถนนหลัก ได้แก่ ถนนลาดยาง ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนลูกรัง และถนนดิน ซึ่งถนนแต่ละสายมีสภาพถนน ดังนี้
ถนนลาดยาง
ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก
ถนนลูกรัง
ถนนดิน
สาธารณูปโภค – สาธารณูปการ
1) ไฟฟ้า ประชาชนตำบลเกิ้งมีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน อัตราการใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 99 ของพื้นที่ทั้งหมด
2) ประปา แยกตามหมู่บ้านและจำนวน ดังนี้
หมู่ที่ 3 บ้านท่าปะทาย มีระบบประปา 2 แห่ง คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (งบอุดหนุนเฉพาะกิจ) และกิจการของ อบต.
หมู่ที่ 4 บ้านวังยาว มีระบบประปา 1 แห่ง คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (งบอุดหนุนเฉพาะกิจ)
หมู่ที่ 7 บ้านโขงกุดหวาย มีระบบประปา 1 แห่ง คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (งบอุดหนุนเฉพาะกิจ) ไม่สามารถใช้การได้
3) เครือข่ายโทรศัพท์ มีโทรศัพท์ใช้ทุกหมู่บ้าน และมีเสาสัญญาณสำหรับรองรับคลื่นโทรศัพท์เกือบทุกหมู่บ้าน/โทรศัพท์บ้านอยู่ระหว่างการดำเนินการขยายเขตการให้บริการของ องค์การโทรศัพท์ (TOT)
การศึกษา สถาบัน และองค์กรทางศาสนา
1) โรงเรียน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
- หมู่ที่ 3 บ้านท่าปะทาย มีโรงเรียนระดับประถมศึกษาอยู่ 1 แห่ง โรงเรียนท่าปะทายโนนตูม
- หมู่ที่ 5 บ้านเกิ้งใต้ มีโรงเรียนระดับประถมศึกษาอยู่ 1 แห่ง โรงเรียนเกิ้งสามัคคีคุรุราษฏร์
และมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล
- หมู่ที่ 7 บ้านโขงกุดหวาย มีโรงเรียนระดับประถมศึกษาอยู่ 1 แห่ง โรงเรียนบ้านโขงกุดหวาย
2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้งหมู่ที่ 3
3) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาด้วยตนเองผ่านศูนย์การเรียนรู้ การจัดการศึกษาในระบบประถมศึกษา มัธยมศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย (การจัดการศึกษานอกโรงเรียน) ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) มี 1 แห่ง คือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลเกิ้ง ตั้งอยู่ อาคารเม็ดพลอย องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง
4) วัด 12 แห่ง
5) สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
การสาธารณสุข
สถานพยาบาลประจำตำบล/หมู่บ้าน มีจำนวน 1 แห่ง ได้แก่
- หมู่ที่ 5 บ้านเกิ้งใต้ มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 1 แห่ง เป็น สถานพยาบาลประจำตำบล
แหล่งน้ำธรรมชาติ
ในพื้นที่ตำบลเกิ้งมีแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญ คือ แม่น้ำชี และมีคลองส่งน้ำเพื่อการเกษตรที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรูปของสถานีสูบน้ำ ซึ่งแหล่งน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำชี และยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือหนองน้ำซึ่งชาวตำบลเกิ้งได้ใช้แหล่งนำเหล่านี้ในชีวิตประจำวันและเพื่อการเกษตร
ตารางที่ 1-2 แหล่งน้ำธรรมชาติในตำบลเกิ้ง
ชื่อ |
หมู่บ้าน |
พื้นที่(ไร่) |
หนองหวาย |
บ้านทุ่งนาเรา หมู่ที่ 8 |
80 ไร่ |
หนองวังดินดำ |
บ้านดินดำพัฒนา หมู่ที่ 11 |
13 ไร่ 1 งาน |
บึงดินดำ |
บ้านดินดำ หมู่ที่ 1 |
15 ไร่ 2 งาน |
กุดร่อง |
บ้านโนนตูม หมูที่ 2 |
26 ไร่ 2 งาน |
กุดยาง |
บ้านโนนตูม หมูที่ 2 |
17 ไร่ 1 งาน |
กุดผักสุ่ม |
บ้านท่าปะทาย หมู่ที่ 3 |
59 ไร่ 1 งาน |
กุดหูลิง |
บ้านท่าปะทาย หมู่ที่ 3 |
37 ไร่ 2 งาน 1 ตรว. |
กุดน้ำใส |
บ้านท่าปะทาย หมู่ที่ 3 |
7 ไร่ 2 งาน |
กุดหนองหญ้าม้า |
บ้านท่าปะทาย หมู่ที่ 3 |
12 ไร่ 1 งาน |
หนองบัวกลางทุ่ง |
บ้านท่าปะทาย หมู่ที่ 3 |
8 ไร่ 3 งาน 71 ตรว. |
หนองแหน |
บ้านวังยาว หมู่ที่ 4 |
2 ไร่ 3 งาน |
ตารางที่ 1-2 แหล่งน้ำธรรมชาติในตำบลเกิ้ง (ต่อ)
ชื่อ |
หมู่บ้าน |
พื้นที่(ไร่) |
บึงโดน |
บ้านวังยาว หมู่ที่ 4 |
35 ไร่ 1 งาน |
กุดขี้เป็ด |
บ้านเกิ้งใต้ หมู่ที่ 5 |
200 ไร่ |
หนองขอนแก่น |
บ้านโขงกุดหวาย หมูที่ 7 |
3 ไร่ |
บึงโพธิ์ |
บ้านทุ่งนาเรา หมู่ที่ 8 |
40 ไร่ 1 งาน |
หนองบัว |
บ้านทุ่งนาเรา หมู่ที่ 8 |
3 ไร่ 3 งาน |
หนองเพียรเนตร |
บ้านโนนสวรรค์ หมูที่ 10 |
13 ไร่ |
กุดอ้อ |
บ้านโนนสวรรค์ หมูที่ 10 |
249 ไร่ 1 งาน |
กุดชีใหญ่ |
บ้านดินดำพัฒนา หมูที่ 11 |
75 ไร่ |
กุดชีน้อย |
บ้านทุ่งนาเรา หมูที่ 8 |
16 ไร่ |
กุดผักชี |
บ้านเจริญสุข หมู่ที่ 12 |
56 ไร่ 1 งาน |
บึงบัว |
บ้านวังน้ำเย็น หมู่ที่ 14 |
36 ไร่ |
หนองโพธิ์ |
บ้านท่าประทายหมู่ที่ 3 |
3 ไร่ 3 งาน |
หนองชีหลง |
บ้านดินดำหมู่ที่ 1 |
53 ไร่ 3 งาน |
ที่มา : ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลเกิ้ง
ด้านเกษตรกรรมในตำบลเกิ้ง
กสิกรรม
ตำบลเกิ้ง มีพื้นที่ทั้งหมด 11,983 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 9,037.25 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 75.42 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ทำการเกษตรของตำบลเกิ้ง จำแนกเป็น พื้นที่นาข้าว 7,252 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 80.25 ของพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่ไม้ผล 1,566 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.33 ของพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่อื่นๆ เช่น พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 19.25 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของพื้นที่ทำการเกษตร เป็นต้น
ดังตาราง
ตารางที่ 1-3 การจำแนกพื้นที่ทำการเกษตรของตำบลเกิ้ง
ประเภทพื้นที่ |
จำนวนพื้นที่(ไร่) |
พื้นที่ทั้งหมด |
11,983.00 |
พื้นที่ทำการเกษตร |
9,037.25 |
- นาข้าว |
7,252.00 |
- ไม้ผล |
1,566.00 |
พื้นที่อื่นๆ |
2,945.75 |
ที่มา : ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลเกิ้ง
ปศุสัตว์
ประชากรในเขตพื้นที่ตำบลเกิ้ง ส่วนใหญ่จะเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น ไก่เนื้อ ไก่พื้นบ้าน และ
เป็ดเทศ และการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้งาน เพื่อขาย เช่น โค สุกร เป็นต้น
การพาณิชยกรรม
การบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง ประกอบด้วย
1. ห้างสรรพสินค้า จำนวน 3 แห่ง
2. ตลาดสดเอกชน จำนวน 1 แห่ง
3. ธุรกิจบริการและสถานบันเทิงคล้ายสถานบริการ จำนวน 6 แห่ง
4. ร้านค้า ของชำ หรือของเบ็ดเตล็ด จำนวน 128 แห่ง
5. ร้านจำหน่ายวัสดุ ก่อสร้าง จำนวน 5 แห่ง
6. ร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ จำนวน 12 แห่ง
7. ร้านซ่อมรถยนต์ และเครื่องยนต์ทางการเกษตร จำนวน 7 แห่ง
8. ร้านอาหาร จำนวน 17 แห่ง
9. บ้านเช่า/หอพัก จำนวน 35 แห่ง
10. เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ จำนวน 3 แห่ง
การอุตสาหกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง ประกอบด้วย
1. โรงสี จำนวน 4 แห่ง
2. โรงอุตสาหกรรมขนาดกลาง จำนวน 3 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
องค์กรและกลุ่มอาชีพของตำบลเกิ้ง ส่วนมากเป็นกลุ่มทางการเกษตร และกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มีจำนวน 10 กลุ่ม โดยปัญหาของกลุ่มอาชีพของตำบลเกิ้ง ได้แก่ กิจกรรมของกลุ่มไม่ต่อเนื่อง ขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี กลุ่มอาชีพหลายกลุ่มขาดแคลนทุนในการดำเนินงาน และไม่มีตลาดรองรับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ และมีกลุ่มกองทุนหมู่บ้านของแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 14 กลุ่มที่มีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และสำหรับกลุ่มอาชีพที่ประสบปัญหาในด้านต่างๆ องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นโดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินและร่วมแก้ไขปัญหา รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มอาชีพต่างๆในแต่ละปีงบประมาณ
ประชากร
ตารางที่ 1-4 ข้อมูลประชากร/ครัวเรือน แยกรายหมู่บ้าน
บ้าน |
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
รวม (คน) |
จำนวนครัวเรือน (หลัง) |
ดินดำ |
252 |
278 |
530 |
225 |
โนนตูม |
373 |
388 |
761 |
190 |
ท่าปะทาย |
578 |
607 |
1,185 |
457 |
วังยาว |
261 |
274 |
535 |
184 |
เกิ้งใต้ |
281 |
291 |
572 |
211 |
เกิ้งเหนือ |
381 |
438 |
819 |
220 |
โขงกุดหวาย |
181 |
165 |
346 |
99 |
ทุ่งนาเรา |
293 |
298 |
591 |
396 |
โนนสมบูรณ์ |
194 |
169 |
363 |
113 |
โนนสวรรค์ |
194 |
185 |
379 |
125 |
ดินดำพัฒนา |
287 |
315 |
602 |
420 |
เจริญสุข |
465 |
507 |
972 |
462 |
เกิ้งพัฒนา |
147 |
161 |
308 |
82 |
วังน้ำเย็น |
607 |
666 |
1,273 |
1,699 |
รวม |
4,494 |
4,742 |
9,236 |
4,883 |
ที่มา : สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ข้อมูล ณ วันที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558